พระจริยวัตรแห่งองค์บิดาของทหารเรือไทย สู่สามัคคีร่วมใจในบรรดาลูกประดู่

WRITER : ฑิตยา ชีชนะ

… พลทหารเรือ … ถวายฎีการ้องทุกข์ว่า ได้รับความลำบากเพราะอาหารเน่าเสียและมีปริมาณน้อย ทั้งยังต้องถูกนายทหารฝรั่งทุบตบต่อยด้วย … พลตรี สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์ เสนาบดีกระทรวงกลาโหมในเวลานั้น … ถวายความเห็นประกอบว่า “… ข้อเดือดร้อนที่ต้องฝรั่งตบตีนั้น ข้อนี้เปนการยากด้วยฝรั่งมันดูถูกไทย ทำเอาตามลำพังใจ ครั้นว่าเราจะไม่รับฝรั่งเปนนายเรือก็ไม่ได้ ด้วยคนไทยยังไม่มีใครรู้วิชาเดินเรือ …

114 ปี แห่งรากฐานของกิจการทหารเรือ จากพระปณิธานแห่งองค์บิดาของทหารเรือไทย

WRITER : นิธิ วติวุฒิพงศ์ / ฑิตยา ชีชนะ

จากพระราชปณิธานในพระปิยมหาราช
สู่ความตั้งพระทัยมั่นแห่งองค์บิดาของทหารเรือไทย ในพระประสงค์ให้สยามมีสมรรถนะด้านการทหารเรือสืบไปในภายหน้า

“กรมหลวงชุมพรฯ” และ “วังนางเลิ้ง” ในความทรงจำ

WRITER : นิธิ วติวุฒิพงศ์ / ฑิตยา ชีชนะ

บทบันทึกความทรงจำถึง “เสด็จในกรมฯ” รวมทั้ง “ชีวิตชาววังนางเลิ้ง”
จากผู้ที่เกิด จำความได้ และเติบใหญ่ภายในรั้ววังแห่งนี้ กระทั่งถึงการสิ้นพระชนม์ของเสด็จในกรมฯ

วิเคราะห์แง่คิด พินิจมุมมอง จากสรรพวิชาและอาคมในกรมหลวงชุมพรฯ

WRITER : ฑิตยา ชีชนะ

จากความสนพระทัยในสรรพศาสตร์และวิชาอาคมในกรมหลวงชุมพรฯ
สู่เรื่องเล่าหลากแง่หลายมุม ที่บางเรื่องก็ยากจะพิสูจน์ด้วยวิทยาศาสตร์
แล้วเราในยุคปัจจุบันจะเรียนรู้อะไรได้บ้าง จากเรื่องลี้ลับเหล่านี้

“หัวใจ” แห่ง “ไสยศาสตร์” ในแบบฉบับกรมหลวงชุมพรฯ

WRITER : ฑิตยา ชีชนะ

จากพระคุณลักษณะของกรมหลวงชุมพรฯ ที่ทรงโปรดการเรียนรู้ ทดลอง และพิสูจน์ สู่ความสนพระทัยศึกษาอย่างจริงจังทาง “ไสยศาสตร์” จนเกิดเป็นเรื่องเล่าน่าอัศจรรย์ สร้างความเลื่อมใสศรัทธาแก่คนรุ่นหลัง แต่อะไรคือ “หัวใจ” ของการศึกษาไสยศาสตร์ในแบบฉบับกรมหลวงชุมพรฯ

ปิยมหาราชา กับอาภาราชกุมาร

WRITER : นิธิ วติวุฒิพงศ์

พระราชจริยวัตรในฐานะ “บิดา” ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นอย่างไร พระราชดำริของพระองค์ต่อ “บุตร” เป็นแบบไหน ? แง่มุมหนึ่งที่เราในปัจจุบันอาจรู้สึกสัมผัสหรือสันนิษฐานได้ คือการมองผ่านเรื่องราวในพระประวัติของพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์

มรดกจากหมอพร หมอเทวดาของประชาชน

WRITER : ฑิตยา ชีชนะ

จากความสนพระทัย และการทรงเรียนรู้ สู่พระกรณียกิจของกรมหลวงชุมพรฯ ในพระนาม “หมอพร” เมื่อกว่า 100 ปีที่แล้ว องค์ความรู้ในพระองค์อันเป็นมรดกที่ตกทอดมาถึงปัจจุบัน อาจสร้างคุณประโยชน์อย่างไรบ้างต่อสังคมไทย

78 วันเหนือผืนน้ำ ภาพสะท้อนพระปรีชาของ “กรมหลวงชุมพรฯ” บนเรือพระร่วง

WRITER : นิธิ วติวุฒิพงศ์ / ฑิตยา ชีชนะ

มองจากปัจจุบันย้อนกลับไป เราเห็นความท้าทายใดบ้างที่อาจเกิดขึ้น ตลอดระยะเวลา 78 วันที่เรือหลวงพระร่วงเดินทางไกลจากอังกฤษสู่สยามประเทศ และสิ่งเหล่านั้นสะท้อนถึงพระปรีชาของกรมหลวงชุมพรฯ ในแง่มุมใด ระหว่างที่ทรงนำเรือรบจากเงินเรี่ยไรของชาวสยามกลับสู่มาตุภูมิ

ถอดรหัสสายสัมพันธ์ไร้บทบันทึก ระหว่างหลวงปู่ศุขกับหมอพร

WRITER : นิธิ วติวุฒิพงศ์

ความสัมพันธ์ใกล้ชิดฉันศิษย์และอาจารย์ ระหว่างกรมหลวงชุมพรฯ กับหลวงปู่ศุข แห่งวัดปากคลองมะขามเฒ่า เป็นที่รับรู้กันกว้างขวางมายาวนาน หากสิ่งหนึ่งที่เป็นลักษณะร่วมกันระหว่างกรมหลวงชุมพรฯ และหลวงปู่ศุข ที่มีผู้กล่าวถึงน้อยมากในยุคหลังก็คือ การเป็นผู้ศึกษาวิชาแพทย์ ทรงความรู้แตกฉานในตำรายา และใช้ความรู้นี้เพื่อประโยชน์แก่คนทั่วไป โดยไม่มุ่งหวังอามิสสินจ้าง

“หมอพร หมอเทวดา” ในหน้าประวัติศาสตร์การแพทย์สยาม

WRITER : นิธิ วติวุฒิพงศ์

แม้พระกรณียกิจที่พลเรือตรี พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหมื่นชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ทรงกระทำระหว่างทรงออกจากราชการ จะมีอยู่หลายด้าน แต่พระกรณียกิจอันเป็นที่กล่าวขานมาถึงปัจจุบันว่า ได้สร้างคุณูปการแก่ผู้คนทุกชนชั้นอย่างกว้างขวาง ก็คือการทรงศึกษาวิชาแพทย์ กระทั่งทรงสามารถปรุงยา และทรงรักษาผู้ป่วยเจ็บเป็นจำนวนมากมาย ในพระนาม “หมอพร”

1 2 3